เมื่อเราพูดถึงสิ่งปนเปื้อนในน้ําเรามักจะนึกถึงตะกอน ความขุ่น ความกระด้างของน้ําโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท โครเมี่ยม เป็นต้น คราวน้ีจะพูดถึงสารอินทรียท์ ที่ปนเปื้อนในน้ําในรูปของ สารอินทรียท์ ละลายปนเปื้อนในน้ําไม่รวมอินทรีย์สาร ที่เป็นสารแขวนลอยและคราบน้ำมัน
สารอินทรีย์ที่ละลายปนเปื้อนในน้ำ พอสรุปแหล่งที่มาได้ 3 ทาง คือ
- สารอินทรีย์ที่เกิดจากการย่อยสลายของอินทรียสารซากพืชซากสัตว์ ในธรรมชาติ เกิดเป็นสารอินทรีย์ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กจนสามารถละลายน้ําได้ เช่น สารกลุ่มฮิวมิก (Humic acid) และฟลูวิก (Fluvic acid) ซึ่งสารทั้งสองน้ียังมีส่วนทําให้เกิดสีในน้ํา (สีน้ําตาลอ่อนหรือสีชํา)
- สารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์สร้างข้ึน ซึ่งจุลินทรีย์ประกอบด้วยโปรโตซัวแบคทีเรีย เชื้อรา และสาหร่ายเซลเดียว สารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์สร้างข้ึนน้ีอาจละลายปนเปื้อนมากับน้ำโดยตรง หรือเกิดจากซากจุลินทรียถ์ ถูกย่อยสลายทําให้สารอินทรีย์ที่อยู่ภายในเซลละลายปนมากับน้ำ ตัวอย่างเช่น สารกลุ่ม ไมโครซีสติน (Microcytin) ที่เกิดจากสําหร่ายสีน้ําเงินแกมเขียวช่ือ Microcytin aeruginose ซึ่งสารกลุ่มน้ีบางตัวเป็นสารพิษ สาหร่ายสีน้ําเงินแกมเขียวชื่อโอเซียลําโตเรีย ลิโมสํา Oseillatoria limosa จะผลิต สารกลุ่มท่ีเกิดจากการเผาผลาญในเซลของสาร Methylisorneol ซึ่งเป็นสารที่ทําให้น้ำมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นต้น
- สารอินทรีย์ที่เกิดจากชุมชน กิจกรรมทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนกํารขับถ่าย ชําระร่างกายของมนุษย์ มีส่วนทําให้มีสารอินทรีย์ปนเปื้อนไปกับ น้ําได้ รวมทั้งสารเคมี ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเป็นต้น
- สารอินทรีย์ที่เกิดจากระบบบําบัดน้ำเสียและระบบปรับสภาพน้ํา เช่น สารเร่งการตกตะกอน ในระบบบําบัดน้ําเสีย นอกจากน้ีในระบบบําบัดน้ำเสียทางชีวภาพ ซึ่งมักจะมีสารอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ ไม่อาจย่อยสลายได้ตลอดจนซากจุลินทรีย์หลงเหลือปนเปื้อนในน้ําที่ผ่านระบบบําบัด เมื่อผ่านระบบการฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนอาจทําให้สารเหล่านี้กลายเป็นสารอินทรีย์ ที่มีความเป็นพิษเพิ่มมากข้ึนได้ อีกด้วย เช่นทําให้เกิดสารในกลุ่มไตรเฮโรมีเทน(Trihalomethanes) หรือ THM ซึ่งเป็นสารที่เชื่อว่าเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหน่ึง